สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการดำเนินงานในด้านของ งานวิจัย รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยทางเคมี ทางแพทย์ ทางด้านอื่นๆ ในเรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งส่งเสริมให้ความร่วมมือในการวิจัย และแลกเปลี่ยนผลงานวิจัยอันทันสมัยกับสถาบันอื่นๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
นอกจากนี้ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ยังดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริม พัฒนาสภาพแวดล้อม ยังรวมไปถึงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ยกระดับชีวิตของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้ดำเนินงานดูแลด้านกิจกรรมพิเศษผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการ อุทยานใต้ทะเล จุฬาภรณ์ 36 ที่เราจะมากล่าวถึงกันในวันนี้
โครงการอทุยานใต้ทะเล จุฬภรณ์ 36 เป็นโครงการที่กองทัพเรือได้ถวายแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารรี เนื่องในวันพระราชสมภพของพระองค์ กองทัพเรือสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงห่วงใยทรัพยากรใต้ทะเลบริเวณหมู่เกาะสิมิลัน เกาะบอน เกาะตาชัย หมู่เกาะสุรินทร์ พระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้ทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเลได้รับการอนุรักษ์ให้ยั่งยืน เพื่อเป็นแหล่งที่พักอาศัยของสัตว์น้ำและเป็นแหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทยสืบไป
โครงการอุทยานใต้ทะเล จุฬาภรณ์ 36 เริ่มกิจกรรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จุดประสงค์เพื่ออนุรักษ์ ทรัพยากรทางทะเล ซึ่งในปัจจุบันนี้มีสมาชิกเป็นนักดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์ หรือ นพอ ประมาณ 1,000 คน ได้แบ่งงาน ออกเป็น 2 ส่วน คือ การทำค่ายเยาวชนอนุรักษ์ทะเล สอนให้เหล่าๆเด็กๆ มีความเข้าใจ รักทะเล รวมทั้งการดูแลรักษาปะการังไม่ให้ถูกทำลายจากสมอเรือ แก้ไขโดยการวางทุ่นสำหรับผูกจอดเรือ นับเป็นการฟื้นฟูปะการังด้วยวิธีธรรมชาติอีกทางหนึ่ง
โครงการค่ายเยาวชนอนุรักษ์ทะเล ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงปิดเทอมฤดูร้อน โดยให้เยาวชนอายุระหว่าง 12-18 ปี จากโรงเรียนในจังหวัดพังงา รวมทั้งจังหวัดอื่นๆที่ใกล้เคียง กิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายให้ความรู้ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติใต้ทะเล เป็นการปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ เรื่องของ ปะการัง ประโยชน์ต่างๆรวมทั้งแนวทางการอนุรักษ์ ฝึกการใช้อุปกรณ์ดำน้ำ พร้อมพาชมศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล
โครงการฝึกอบรมดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใต้ทะเล เป็นโครงการปั้นนักดำน้ำมือสมัครเล่น เปิดสอนหลักสูตรการฝึก ดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเล เพื่อการพักผ่อน การทำงานใต้น้ำระดับหนึ่ง ตามมาตรฐานสากล แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา สอนให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ใช้การดำน้ำด้วยเครื่องช่วยหายใจได้ รวมทั้งมีการเพิ่มความรู้เกี่ยวกับพืชและสัตว์ทะเลไว้ในหลักสูตรอีกด้วย
โครงการซ่อมแซม วางทุ่นผูกเรือ เป็นโครงการต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 จุดประสงค์เพื่อซ่อมแซมทุ่นผูกเรือ ป้องกันแนวปะการัง ทั้งนี้ การวางทุ่นผูกเรือในแนวปะการังเป็นวิธี ในการอนุรักษ์ทรัพยากร ทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้แนวปะการังถูกทำลายจากการทิ้งสมอเรืออีกด้วย